วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

มารยาทไทย


มารยาทไทยในชีวิตประจำวัน

มารยาทไทย



ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทย ประกอบด้วย 
การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย 
เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย ตามคำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ 
ที่ ๖๓๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ โดยมี นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน และได้ประชุมปฏิบัติการ
เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว 
ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น รายละเอียดดังนี้ 


ความหมาย มารยาท
“ มารยาท ” หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ   


ขอบข่าย มารยาทไทย
มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน
 การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร 
การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ


ลำดับความสำคัญมารยาทไทย
มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย ควรกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้

๑.การยืนรับคำสั่งจากผู้ใหญ่

๒.การยืนสนทนากับผู้ใหญ่

๓.การเดินผ่านผู้ใหญ่

๔.การเดินกับผู้ใหญ่

๕.การนั่งคุยกับผู้ใหญ่

๖.การไหว้ ๓ ระดับ

๗.การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์

๘.การรับของจากผู้ใหญ่

มารยาทไทย ๑





๑.การยืนรับคำสั่งจากผู้ใหญ่  




   




ให้ยืนตรง ชิดเท้า หน้าตรง ปล่อยมือไว้ข้างตัว

มารยาทไทย ๒


๒.การยืนสนทนากับผู้ใหญ่



ให้ยืนตรง ชิดเท้า ค้อมตัวเล็กน้อย มือประสานกันอยู่ระดับเอว ไม่ควรยืนชิดหรือห่างผู้ใหญ่จนเกินไป 

มารยาทไทย ๓


๓.การเดินผ่านผู้ใหญ่

ขณะที่ผ่านผู้ใหญ่ไม่ควรเดินลงส้น หรือ มีเสียงดัง และต้องผ่านในระยะห่างพอสมควร



๓.๑ ขณะผู้ใหญ่ยืน
ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวม ปล่อยมือไว้ข้างตัวและค้อมตัวเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่ 




๓.๒ ขณะผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้
ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวม ปล่อยมือไว้ข้างตัว ค้อมตัวพร้อมกับย่อเข่าเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้อยู่ แต่ถ้าเป็นในบ้านอาจจะใช้วิธีเดินเข่าก็ได้



๓.๓ ขณะผู้ใหญ่นั่งหรือนอนกับพื้น
ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวมเมื่อถึงที่ผู้ใหญ่นั่งอยู่ให้ทรุดตัวลงเดินเข่า เมื่อผ่านผู้ใหญ่ไปแล้วค่อยลุกขึ้นเดิน 

มารยาทไทย ๔


๔.การเดินนำหรือเดินตามผู้ใหญ่




การเดินนำ เดินระยะห่างพอสมควร จะอยู่ด้านใดแล้วแต่สถานที่จะอำนวย แต่โดยปกติผู้เดินจะอยู่ทางซ้ายของผู้ใหญ่
เดินลักษณะสำรวม




การเดินตาม เดินเบื้องหลังเยื้องไปทางซ้ายของผู้ใหญ่เดินลักษณะสำรวมระยะห่างพอสมควร

มารยาทไทย ๕

๕. การนั่ง




การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าผู้ใหญ่ เป็นการนั่งโดยสำรวมกิริยาและสายตาตามสมควร ไม่ก้มหน้า นั่งท่าใดท่าหนึ่งดังต่อไปนี้


นั่งเก้าอี้ตัวตรง หลังไม่พิงพนักเก้าอี้ มือทั้งสองข้างประสานกันวางบนหน้าขา

มารยาทไทย ๖

๖.การไหว้
การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น ๓ แบบ



ระดับที่ ๑ การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 
รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ 
โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก



ระดับที่ ๒ การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ 
ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์
และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือแล้ว
ยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว



ระดับที่ ๓ การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย 
โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก



วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

มารยาทไทย ๗



๗. การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการใช้อวัยวะทั้ง ๕ คือ หน้าผาก ซึ่ง
เป็นตัวแทน ของส่วนบนของร่างกาย มือและข้อศอกทั้ง ๒ เป็นตัวแทน
ส่วนกลางของร่างกาย เข่าทั้ง ๒ ซึ่งเป็นตัวแทนส่วนล่างของร่างกายจรดพื้นการกราบมี ๓ จังหวะ คือ 



ท่าเตรียม...

    

  ชาย นั่งคุกเข่าตัวตรงปลายเท้าตั้ง ปลายเท้าและส้นเท้าชิดกัน นั่งบนส้นเท้า 
เข่าทั้งสองห่างกัน พอประมาณ มือทั้งสองวางคว่ำบนหน้าขา ทั้งสองข้าง นิ้วชิดกัน (ท่าเทพบุตร)



หญิง นั่งคุกเข่าตัวตรง ปลายเท้าราบ เข่าถึงปลายเท้าชิดกัน นั่งบนส้นเท้า 
มือทั้งสองวางคว่ำ บนหน้าขา ทั้งสองข้าง นิ้วชิดกัน (ท่าเทพธิดา)



ท่ากราบ
จังหวะที่ ๑ (อัญชลี) ยกมือขึ้นในท่าประนมมือ
จังหวะที่ ๒ (วันทนา) ยกมือขึ้นไหว้ตามระดับที่ ๑ การไหว้พระ
จังหวะที่ ๓ (อภิวาท) ทอดมือทั้งสองลงพร้อม ๆ กัน ให้มือและแขนทั้งสองข้างราบกับพื้น 
คว่ำมือห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้





ชาย ศอกทั้งสองข้างต่อจากเข่าราบไปกับพื้น หลังไม่โก่ง



หญิง ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย ราบไปกับพื้น หลังไม่โก่ง 
จากนั้นก้มศีรษะลงให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือทั้งสอง



ทำสามจังหวะให้ครบ ๓ ครั้ง แล้วยกมือขึ้นไหว้ในท่าไหว้พระ แล้ววางมือคว่ำลงบนหน้าขา
ในท่าเตรียมกราบ จากนั้นให้เปลี่ยนอิริยาบถตามความเหมาะสม

มารยาทไทย ๘


๘. การรับของจากผู้ใหญ่

ขณะผู้ใหญ่ยืน






ชาย เดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอสมควร(ประมาณ ๒ ก้าว)
ยืนตรงคำนับแล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าพร้อมกับค้อมตัวเล็กน้อย 
รับของ เสร็จแล้วซักเท้าขวากลับ คำนับอีกครั้งหนึ่ง ถอยพอประมาณแล้วหันกลับอีกแบบหนึ่งยืนไหว้ครั้งเดียว แทนการคำนับก่อน รับของแล้วไม่ต้องไหว้อีก





หญิง เดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอสมควร (ประมาณ ๓ ก้าว) 
ย่อตัวไหว้ตามอาวุโสของผู้ส่งของให้
 แล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าพร้อมกับย่อตัวรับของ เสร็จแล้วซักเท้าขวากลับถอยพอประมาณ หันกลับ